บริการเสาเข็มเจาะ
บริการเทสกำลังรับน้ำหนักบรรทุก เสาเข็ม

การทดสอบการรับน้ำหนักของเสาเข็ม(Dynamic Load Test)
การทดสอบการรับน้ำหนักของเสาเข็ม (Dynamic Load Test) นี้สามารถตรวจสอบหาความสมบูรณ์ของเสาเข็มเบื้องต้นหากำลังรับน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็ม การกระจายหน่วยแรงเสียดทานของเสาเข็ม กำลังน้ำหนักบรรทุกที่ปลายเข็มความสัมพันธ์ระหว่างการน้ำหนักและการทรุดตัว ค่าหน่วยแรงเค้นอัดและแรงที่เกิดขึ้นระหว่าง การทดสอบและทราบถึงประสิทธิภาพของเสาเข็ม โดยเป็นที่ยอมรับทั่วไปและมีมาตรฐานรองรับ ได้แก่ ASTM D4945-96 นอกจากนั้น การทดสอบดังกล่าวมีข้อดีหลายประการ ดังนี้

  1. สามารถทำการทดสอบได้ภายในระยะสั้นๆ เสาเข็มหลายต้นสามารถทำการทดสอบได้ในวันเดียว
  2. ต้องการพื้นที่รอบๆ เสาเข็มไม่มากนักในการเตรียมการทดสอบ
  3. ผลการทดสอบให้ข้อมูลที่เพียงพอเกี่ยวกับเสาเข็มในเรื่องของกำลังรับน้ำหนักและความสมบูรณ์ของเสาเข็ม
  4. เป็นการทดสอบที่ประหยัดค่าใช้จ่าย

ขั้นตอนการทดสอบ

  1. บันทึกข้อมูลเสาเข็มเสาเข็มทดสอบ เช่นหมายเลขเสาเข็ม ชนิด ขนาด และความยาว เป็นต้น เพื่อใช้เป็นข้อมูลประการวิเคราะห์
  2. ปรับหัวเสาเข็มให้เรียบ โดยเฉพาะเสาเข็มเจาะโดยการตัดหัวเสาเข็มและครอบหัวเสาเข็มด้วย Non-shrink Cement หรือหล่อ Pile Cap เพื่อให้หัวเสาแข็งแรง สามารถรับแรงจากตุ้มน้ำหนักได้
  3. กำหนดตำแหน่ง เพื่อทำการยึดติดตั้ง Strain Transducers และ Acceleromeler Sensors กับผิวด้านข้างหน้าของเสาเข็มทดสอบ 2 ด้านตรงข้ามกัน โดยการใช้สว่านเจาะคอนกรีตที่ระยะประมาณ 1.00-1.50 เท่า ของหน้าตัดเสาเข็ม วัดจากระดับหัวเสาเข็มทดสอบ
  4. ติดตั้งตุ้มน้ำหนักสำหรับทดสอบ
  5. ปรับ Calibrate ตัววัดสัญญาณเครื่องมือทดสอบใหอยู่ในช่วงค่าที่เหมาะสม
  6. ทำการตอกทดสอบโดยกระแทกตุ้มเหล็ก ลงบนหัว เสาเข็มที่รองบังกระแทกด้วยหมวกครอบหัวเสาเข็ม (Pile Cap) ปูรองทับด้วยไม้อัดและกระสอบหนา
  7. ทดสอบประมาณ 3-4 ครั้ง หรือตามเหมาะสมโดยแต่ละครั้งที่ทดสอบจะตรวจสัญญาณที่เกิดขึ้นว่าถูกต้องหรือไม่ และวัดค่าการทรุดตัวในแต่ละครั้งที่ทำการทดสอบเสาเข็ม
  8. นำสัญญาณที่ทำการทดสอบในสนามที่ถูกต้อง โดยมีระยะการทรุดตัวที่เหมาะสม ไปทำการวิเคราะห์ที่สำนักงานต่อไป